ตารางบำรุงรักษาคอมฯ

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Service Profile IT ศรีวิไล


I-4 การวัด วิเคราะห์ performance ขององค์กร และการจัดการความรู้

เป้าหมาย/ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ: การจัดการข้อมูลที่มีคุณภาพ ปลอดภัย มีซอฟแวร์ที่ทันสมัย อุปกรณ์พร้อมใช้
ตัวชี้วัด
เป้าหมาย
2553
2554
2555
2556
ระบบ HOSxP ล่ม
0
1
0
1
1
เวลาการกู้คืนระบบHOSxPที่ล่ม
< 5 นาที
3
0
3
3
ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการระบบสารสนเทศ
Ø 80 %
85%
80%
90 %
95%
พัฒนาโปรแกรมและองค์ความรู้ใหม่
3 งาน/ปี
-
-
1
6
บริบท:
                   โรงพยาบาลศรีวิไลมีการใช้โปรแกรม HOSxP ในการจัดเก็บข้อมูลผู้มารับบริการตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2549 จนถึงปันจุบัน เริ่มแรกนำมาใช้ในห้องบัตร,ห้องตรวจโรค,ห้องยา ในการทดสอบระบบการให้บริการผู้มารับรับบริการจนสามารถใช้งานได้ในระดับหนึ่ง หลังจากนั้นได้ติดตั้งโปรแกรมในกลุ่มงานที่เหลือเพื่อให้ครอบคลุมทั้งหมด ซึ่ง ณ ปัจจุบันโรงพยาบาลศรีวิไลได้ติดตั้งโปรแกรม HOSxP ทุกหน่วยงานที่ให้บริการแล้ว
                    ปัจจุบันศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศมีเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงาน จำนวน 3 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ 2 คน เจ้าพนักงานเภสัชกรรมชุมชน 1 คน  มีหน้าที่ในการออกแบบระบบสารสนเทศที่สอดคล้อง กับความต้องการของบุคลากรในการให้บริการผู้มารับบริการ เชื่อมโยง วิเคราะห์ และกระจายข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารการดูแลผู้ป่วยและพัฒนาคุณภาพ กำหนดมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเวชระเบียนผู้ป่วย พร้อมทั้งตรวจสอบความสมบูรณ์ของเวชระเบียนและดำเนินการปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมีคุณภาพมาใช้ในระบบการให้บริการผู้ป่วย ให้การสนับสนุนงานด้านวิชาการและงานวิจัยด้วย
 
วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์:
·       ลดระยะเวลาการให้บริการผู้มารับบริการ
·       สร้างความพึงพอใจต่อเจ้าหน้าที่ผู้ใช้งานและผู้มารับบริการ
·       ผู้มารับบริการได้รับการบริการที่เท่าเทียมกัน
·       ข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์สามารถตรวจสอบได้
·       ความปลอดภัยทางด้านข้อมูลและเทคโนโลยีมีความมั่นคงมากขึ้น
·       เป็นข้อมูลด้านการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพเป็นประโยชน์ต่อการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง สามารถประเมินคุณภาพของการรักษาพยาบาลได้
 
กระบวนการ:
การวัดผลงาน
กลุ่มตัวชี้วัดที่มี alignment ทั่วทั้งองค์กร:
·       มีระบบฐานข้อมูลอันเดียวกันเพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาและตอบสนองต่อความต้องการของการบริหารจัดการ
·       อัตราความสมบูรณ์ของเวชระเบียน
·       อัตราความครบถ้วนสมบูรณ์และคุณภาพของข้อมูล 18,21,43 แฟ้ม
·       อัตราความถูกต้องของการให้รหัส IC10/ICD9CM/ICD10TM
 
ตัวอย่างการตัดสินใจ/นวัตกรรมที่เป็นผลจากการติดตามตัวชี้วัด:
·       มีระบบการรายงานความเสี่ยงผ่านระบบเครือข่าย( Intranet )โดยสามารถแจ้งอุบัติการณ์
·       มีการนำเครื่อง Smart Card ในการบันทึกข้อมูลของผู้มารับบริการ
·       มีการนำเครื่อง Scan Image File ในการจัดเก็บเอกสารสำคัญต่างๆ ของผู้มารับบริการ
·       มีการนำระบบ Scan Opd Card มาใช้เพื่อรองรับระบบการบริการผู้ป่วยที่ไม่ใช้ Opd Card
 
ข้อมูล performance ขององค์กรที่มีการเปรียบเทียบกับองค์กรภายนอก:
·       มีการจัดลำดับร้อยละข้อมูลใน สปสช.เขต (ลำดับร้อยละข้อมูล OP:PP)
·       คุณภาพของข้อมูลในการส่งออก 21 แฟ้ม เข้าระบบ Provis ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ
·       คุณภาพของข้อมูลในการส่งออก 21 แฟ้ม เข้าระบบส่วนกลาง OP:PP/NSHO
 
การวิเคราะห์ ทบทวน และปรับปรุง performance ขององค์กร
ประเด็นสำคัญที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล performance ขององค์กรในรอบปีที่ผ่านมา:
·       มีการพัฒนาร้อยละความสมบูรณ์ของข้อมูล (OP:PP) เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว
·       มีการพัฒนาร้อยละความสมบูรณ์จากมาตรฐาน ข้อมูล 18 แฟ้ม เป็น 21 แฟ้ม
·       ร้อยละความสมบูรณ์ของข้อมูลแบบรายแฟ้ม มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในทุกๆปี
·       เจ้าหน้าที่ได้รับการสื่อสารประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารทั่วถึงทุกกลุ่มงาน
·       ผู้มารับบริการลดความตรึงเครียดการรอคอยในการให้บริการของเจ้าหน้าที่แต่ละกลุ่มงาน
 
ลำดับความสำคัญเพื่อการปรับปรุง performance ขององค์กร:
·       ข้อมูลเวชระเบียน (PP) ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์
·       ข้อมูลการส่งเสริมสุขภาพ (PP) ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์
·       การให้รหัสวินิจฉัย ยังมีการให้รหัสไม่ถูกต้องร้อยละ 0.5%
·       ในการซักประวัติของผู้มารับบริการข้อมูลยังลงไม่ครบทุกช่อง
·       การตอบสนองเรื่องรายงานของแต่ละกลุ่มงานยังไม่สามารถตอบสนองได้ทั้งหมด
·       ด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้งานของผู้ปฏิบัติงาน
·       ระบบการสื่อสารยังไม่เสถียรเท่าที่ควร
·       เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในการลงข้อมูลของผู้มารับบริการยังมีการลงข้อมูลผิดพลาดอยู่
 
การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
IT module ที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน:
·       โปรแกรม HOSxP ใช้ในการให้บริการผู้มารับบริการ
·       โปรแกรม งานบริหาร ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล พัสดุ,งานการเงินและบัญชี,การยานยนต์,งานสารบรรณ
·       งานประกันสุขภาพ โปรแกรม COPD, E-Claim, NHSO
·       กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครับและชุมชน โปรแกรมรายงาน R506, โปรแกรม Smart TB
·       งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โปรแกรม ISWIN
·       งานเวชระเบียน โปรแกรม Thai DRG V3,Thai DRG V4
·       งานห้องคลอด โปรแกรม NST
·       งานเทคนิคบริการ โปรแกรม LIS
·       งานเอกซเรย์ใช้ระบบเอกซเรย์ดิจิตัล
·       ในส่วนของการสร้างระบบการสื่อสารถึงเจ้าหน้าที่และผู้มารับบริการ
·       สื่อสารทาง ระบบ INTERNET ผ่านทางเว็บไซต์ www.sriwilaihos.go.th
·       สื่อสารทาง Facebook กลุ่ม โรงพยาบาลศรีวิไล
·       มีระบบ DATA CENTER ระดับจังหวัด ระหว่าง โรงพยาบาล กับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ
·       ระบบกล้องวงจรปิดทั่วทั้งโรงพยาบาล 32 จุด
·       โปรแกรมสื่อสารผ่านระบบ Skype จำนวน 9 จุดและ รพ.สต.อีก 5 จุด
·       มีระบบการ Remote ช่วยเหลือจากโปรแกรม TeamViewer ( เป็นโปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์จากเครื่องแม่สู่เครื่องลูก )
·       FTP รับ-ส่งข้อมูลระหว่างเครือข่าย ข้อมูลที่เกี่ยวกับระบบยาและข้อมูลที่ต้องคืนรพ.สต.
·       มีเวบบอร์ดเพื่อเป็นช่องทางสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลของเครือข่าย http://www.sriwilaihos.go.th/home/index.php?option=com_wrapper&view=wrapper&Itemid=92
·       โปรแกรมรับส่งเอกสารออนไลน์ภายในโรงพยาบาล http://61.19.29.68/saraban/
และโปรแกรมรายงานความเสี่ยง http://61.19.29.68/RM2011/
 
IT module ที่กำลังพัฒนาหรือมีแผนที่จะพัฒนาในอนาคต:
·       สร้างระบบ Data Center ระหว่าง โรงพยาบาล กับ รพ.สต
·       สร้างระบบรายงานผ่านทางเว็บไซต์ www.sriwilaihos.go.th
·       สร้างระบบ Web Conference และ Video Conferences
·       สร้างระบบคลังยา รพ.สต.ประมีโปรแกรมที่สามารถควบคุมการเบิกจ่ายได้และเชื่อมโยงกับ HOSxP PCU
·       สร้างระบบจองรถยนต์ส่วนกลางกับจองห้องประชุมออนไลน์
·       สร้างระบบแจ้งซ่อมออนไลน์
 
ความพร้อมใช้งานต่อเนื่องในภาวะฉุกเฉิน:
·       มีเครื่องแม่ข่าย( Master Slave ) สำรอง  2  เครื่องพร้อมใช้งานในทันที โดยการสลับ (IP:Address)
·       มีการสำรองฐานข้อมูลแบบระบบ Real Time
·       วางระบบการแก้ไข้ด้าน Hardware, Software ให้สามารถใช้งานได้ในทันที
·       มีการวาง Plan Hub/Switch เพื่อป้องกันปัญหาคอขวดจากการวางสายระบบ
·       มีการวางแผนประสานงานกับจุดให้บริการต่างๆ เมื่อระบบเกิดปัญหาผู้มารับบริการรอคอยนาน ให้ใช้วิธี Manual ในการบริการผู้มารับบริการแทน
 
การจัดการความรู้ขององค์กร
การจัดกิจกรรมการจัดการความรู้:
·       มีระบบ  Internet  เพื่อการสื่อสารพร้อมกระดานสนทนาเพื่อให้บุคลากรไว้แสดงความคิดเห็น
·       ร่วมกับเวชระเบียนในการกำหนดมาตรฐานการบันทึกเวชระเบียน
·       มีการทบทวนเวชระเบียนเป็นระยะเพื่อประเมินความสมบูรณ์ ความถูกต้องของข้อมูลแบบรายบุคคล
·       มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้โปรแกรม HOSxP ในแต่ละหน่วยบริการ
·       มีการอบรมการใช้งานคอมพิวเตอร์เบื้องต้นแก่เจ้าหน้าที่ทุกคน
·       มีการจัดอบรมแนะนำการใช้งานโปรแกรมใหม่ที่จัดนำมาใช้
 
การนำความรู้มาออกแบบระบบงาน/สร้างนวัตกรรม:
·       มีการออกแบบรายงาน, สร้างรายงาน ได้ตามความต้องการของเจ้าหน้าที่
·       มีระบบรายงาน แยกออกเป็นฝ่ายต่างๆ ชัดเจน เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าถึงรายงานได้โดยตรงจุดบริการของตนเอง
·       สร้างวัฒนธรรมในการลงข้อมูลให้ถูกต้อง สมบูรณ์จากรุ่นสู่รุ่น
·       มีการสอนแบบ Person by Leaning ในกรณีเกิดปัญหาการลงข้อมูลกับบุคคลนั้นๆ
 
คุณภาพของข้อมูล สารสนเทศ ความรู้
บทเรียนในการจัดการความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ:
·       ปัญหาระบบ Servers ล่ม ช่วงเดือนมีนาคม ปี 2556 / 1 ครั้ง
สาเหตุ : -  เกิดจากไฟฟ้าของอำเภอศรีวิไลตกและกระชากบ่อยครั้ง ส่งผลให้เครื่องสำรองไฟฟ้าของ SEVER HOSxPชำรุด ระบบ HOSxP เข้าใช้งานไม่ได้ ทางทีมไอทีจึงเปลี่ยนเครื่องสำรองไฟฟ้า SEVER (UPS) ใหม่ ส่วนตัวเก็บข้อมูล ( Hard Disk )ไม่เกิดปัญหาแต่อย่างใด
ปัญหาที่ส่งผลกระทบ 
·       ระบบ HOSxP ไม่สามารถใช้งานได้
·       เครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS)  เสีย1 เครื่อง
·       อุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ ได้รับความเสียหาย
·       เกิดความล่าช้าในการให้บริการผู้มารับบริการ
 
การแก้ไข
·       เปลี่ยนเครื่องสำรองไฟฟ้า  (UPS) เครื่องสำรองไฟใหม่
·       ตรวจเช็คจุดเชื่อมต่อสัญญาณทุกจุดที่มีการใช้ HUB/Switch
·       เปิดเครื่อง Servers ใหม่
·       Run MySQL Servers
·       ทดสอบการเชื่อมโยงระหว่างลูกข่ายไปยังเครื่องแม่ข่าย
·       เข้าโปรแกรม HOSxP เปิดดู Patient EMR ดูประวัติและการบันทึกการมาของผู้มารับบริการล่าสุด
·       ทบทวนกรณีเกิดปัญหาขึ้นอีกและเตรียมความพร้อมในการรับมือ
    ผลลัพธ์
·       Servers ทำงานปกติใช้เวลาในการแก้ไข 2 ชั่วโมง
·       โปรแกรม HOSxP ใช้งานได้ปกติ
·       สามารถรันใบสื่อสารได้ต่อเนื่องจากผู้มารับบริการล่าสุด
·       เจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติสามารถใช้งานได้ปกติ
 
·       ปัญหาคอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรแกรม HOSxP ติดไวรัส
สาเหตุ: - เกิดจากเจ้าหน้าที่นำอุปกรณ์ต่อพ่วงเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ เช่น Trumdrive, Flash Drive, Handy Drive, External Harddisk, โทรศัพท์ ที่มีไวรัสติดอยู่ 
ปัญหาที่ส่งผลกระทบ 
·       เครื่องที่ปฏิบัติงาน การประมวลผลช้า 
·       โปรแกรมรวนใช้งานไม่ได้
·       Connect MySQL Server Error
    ผลพ่วงที่อาจจะเกิดขึ้น
·       ไวรัสสามารถติดไปยังเครื่อง Servers ได้
·       เมื่อติดจากเครื่องหนึ่งแล้วนำอุปกรณ์ต่อพ่วงไปยังอีกเครื่องหนึ่งก็จะติดไวรัสเหมือนกัน
·       ส่งผลกระทบติดไวรัสทั้งระบบเครือข่าย
    การแก้ไข
·       เช็คไวรัสที่ Servers ก่อน
·       ลงระบบปฏิบัติการใหม่ Windows เครื่องที่ติดไวรัส
·       ติดตั้งโปรแกรมสแกนไวรัส USB Disk Security
·       ติดตั้งโปรแกรม MSE
·       ติดตั้งโปรแกรม HOSxP
·       นำอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อมา Scan Virus ทั้งหมด
·       อธิบายแก้แนวทางในการ Scan virus ต่อเจ้าหน้าที่ พร้อมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้น
 
ผลลัพธ์
·       เครื่องสามารถใช้โปรแกรม HOSxP ได้ปกติ
·       คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้เร็วขึ้น
·       Servers ไม่ติดไวรัส
·       อุปกรณ์ต่อพ่วงไม่ติดไวรัส ( เว้นแต่นำอุปกรณ์ต่อพ่วงมาจากที่อื่นโดยไม่ผ่านการแสกนไวรัสมาก่อน)
·       เจ้าหน้าที่เข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นและตระหนักถึงการนำอุปกรณ์ต่อพ่วงมาใช้งาน
 
ผลการพัฒนาที่สำคัญ:
การปรับปรุงระบบการวัด performance ขององค์กร:
·       จัดทำใบสื่อสารแทนระบบบัตรคิวเพื่อความสะดวกรวดเร็วต่อเจ้าหน้าที่และผู้มารับบริการ
·       ปรับปรุง OPD CARD SCAN แสดงรายละเอียดข้อมูลของผู้มารับบริการ
·       พัฒนาช่องทางรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป็นศูนย์รวมข้อมูลในโรงพยาบาล
·       เปิดจุดบริการของแต่ละแผนกในการรับผู้มารับบริการเพื่อลดความหนาแน่น
·       มีอินเตอร์เน็ตสำรอง 2 ระบบ เมื่อระบบอินเตอร์เน็ตหลัก( Lead Line จากCAT แบบ Fiber Optic) ใช้งานไม่ได้ ใช้ในการตรวจสอบสิทธิ์ออนไลน์และการส่งข้อมูล E-Claim
 
การปรับปรุงการจัดการความรู้
·       สร้างระบบรายงาน คู่มืออธิบายการใช้งานในแต่ฝ่ายที่ทันสมัยของโปรแกรม HOSxP ที่มีการ Update Version ให้เป็นปัจจุบันเสมอ
·       ปรับปรุงสื่อข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ในรูปแบบผ่านการเผยแพร่จากเวบไซต์ของโรงพยาบาล
 
 
การปรับปรุงความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
·        ชั้นของความลับ (Confidentiality)  เป็นการทำให้มั่นใจว่ามีเฉพาะผู้มีสิทธิ์หรือได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงได้
·        ปรับปรุงความถูกต้องสมบูรณ์ (Integrity)  ข้อมูลที่ปกป้องนั้น ต้องมีความถูกต้องสมบูรณ์ ต้องมีกลไกในการตรวจสอบสิทธิ์ การอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อมูล
·        เตรียมความพร้อมใช้งาน (Availability)   ต้องสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานที่มีสิทธิ์เข้าถึงระบบได้เมื่อต้องการ
·       มีการใช้ระบบ Log File เพี่อใช้ UserName และ Password  ในการเข้าใช้งานอินเตอร์เน็ตในโรงพยาบาล
·       เพิ่มประสิทธิภาพหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ ให้มีการประมวลผลที่รวดเร็วมากขึ้น
·       มีระบบรักษาความปลอดภัยการโจรกรรมข้อมูล FireWall ที่เข้าถึงชั้นข้อมูล
·        ติดตั้งโปรแกรม Anti-Virus ที่ถูกลิขสิทธิ์สามารถ Update แบบ Real Time ได้ตลอดเวลา  
 
 
มาตรฐาน
Score
ประเด็นในแผนการพัฒนา 1-2 ปีข้างหน้า
16.              ระบบการวัดผลการดำเนินงาน
3.0
· ลำดับและร้อยละความสมบูรณ์ของข้อมูลต้อง 100%
·  
17.              การวิเคราะห์ข้อมูล และการทบทวนผลการดำเนินงาน
3.0
· มีระบบการให้บริการแบบ  online Computer Service ส่งซ่อมบำรุง, ระบบจองห้องประชุม, ระบบจองรถยนต์ส่วนกลาง  มีระบบรายงานการทำงานพร้อมสรุปผลและปัญหาจากการทำงาน
·  
18.              การจัดการสารสนเทศ
3.0
· มีการรวบรวมฐานข้อมูลทั้ง CUP สามารถทำงาน online ได้ผ่านระบบ Data Center
·  
19.              การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
4.0
· ติดตั้งระบบ อินเตอร์เน็ต คลอบคลุมทุกพื้นที่ในโรงพยาบาล
20.              การจัดการความรู้
3.5
· มีการเปิดอบรมบุคลากรในการให้ความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์  1 ครั้ง/ปี
· มีการอบรมสอนการใช้งานสำหรับ IT MODULE ทุกโปรแกรมที่นำมาใช้